ถ้าพูดถึง Social Media เจ้าดังอย่าง Facebook คงไม่มีใครไม่รู้จัก ซึ่งปัจจุบันมีรายงานข่าวจากสำนักข่าวใหญ่ในอเมริการจำนวนมาก เกี่ยวกับประเด็น Mark Zuckerberg กรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของบริษัทเฟซบุ๊กถูกฟ้องร้องโดยนายราซีน (อัยการสูงสุด) โทษฐานที่เฟซบุ๊กละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เฟซบุ๊ก
ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กถูกบรรดาหน่วยงานกำกับทั้งในอเมริกาและสหราชอาณาจักรฟ้องร้อง เนื่องจากการทำผิดกฏหมายที่เกี่ยวกับความคุ้มครองผู้บริโภค และหน่วยงานกำกับทั่วโลกเองมีการยกระดับกฏหมายควบคุมบริษัทและเทคโนโลยีโซเชียลมีเดียที่เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นอันตรายต่อสังคม ทั้งนี้ Instagram ซึ่งเป็นโซเชียลมีเดียบริการหนึ่งของบริษัทเฟซบุ๊ก ก็ถูกเรียกสอบประเด็นที่เป็นโซเชียลมีเดียซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อเด็กวัยรุ่น ในขณะที่อังกฤษปรับเฟซบุ๊ก 70 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ โทษฐานไม่รายงานการเข้าซื้อกิจการ Giphy
แต่คดีที่ผ่านมาเหล่านี้ ไม่เคยมีการเอาผิดนายมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ทั้งที่ นายมาร์คถือหุ้นเฟซบุ๊กกว่าร้อยละ 50 หรือก็คือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องเกี่ยวกับภายในบริษัทอย่างเด็ดขาด
นายราซีน อัยการสูงสุดเจ้าของคดี สรุปจากการสืบพยานและตรวจสอบเอกสารของบริษัทเฟซบุ๊กพบว่า นายมาร์คมีส่วนอย่างมากในการตัดสินใจนโยบายและออกแบบบริการของบริษัท ที่ทำให้เกิดประเด็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เฟซบุ๊ก
โดยนายราซีน กล่าวว่า ผลการตรวจสอบพบว่าบริการหนึ่งของเฟซบุ๊กที่ถูกยกระดับในปี 2553 และทำให้ผู้พัฒนาระบบอื่นๆ หลายร้อยราย รวมถึงสามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้เฟซบุ๊กได้นั้นเป็นความคิดของนายมาร์คผู้ถือหุ้นรายใหญ่และกรรมการผู้จัดการใหญ่ของเฟซบุ๊ก และหนึ่งในผู้พัฒนาระบบนั้นเป็นนักวิชาการที่ต่อมาส่งต่อข้อมูลให้กับ Cambridge Analytica ทั้งที่เฟซบุ๊กรู้เรื่องข้อมูลหลุดออกไป แต่กลับไม่มีการแจ้งผู้ใช้งานนานกว่า 2 ปี จึงถูกสรุปว่านายมาร์คในฐานะผู้นำของบริษัทเฟซบุ๊กควรต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานที่เกิดขึ้นด้วย
ในคดีละเมิดความเป็นส่วนตัวนี้ Facebook ถูกฟ้องเนื่องจากหลอกลวงผู้บริโภคให้เข้าใจผิดว่ามีการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวบนแพลตฟอร์มในขณะที่ปล่อยให้ Cambridge Analytica ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาของพรรครีพับลิกัน สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้กว่า 87 ล้านคน ในเดือนกรกฎาคม 2562 คณะกรรมการกำกับการค้าของสหรัฐอเมริกา (Federal Trade Commission) ซึ่งเป็นหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา เรียกค่าปรับจากเฟซบุ๊กในคดีละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคกรณี Cambridge Analytica ถึง 5 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐโดยยังไม่ได้เอาผิดนายมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก
แม้ที่ผ่านมา ทนายของเฟซบุ๊กจะพยายามยื่นคัดค้านการกล่าวหานายมาร์คในหลายๆ คดี โดยให้เหตุผลว่านายมาร์คไม่สามารถควบคุมการกระทำของพนักงานหลายพันคนได้ แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ
การฟ้องร้องนี้อาจทำให้นายมาร์คต้องจ่ายค่าปรับ 5 พันเหรียญดอลลาร์สหรัฐ แก่ผู้ได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กที่บริษัท Cambridge Analytica เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวได้ในช่วงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเมื่อ 5 ปีก่อน และนั่นหมายถึงการสูญเสียทรัพย์สินจำนวนมหาศาลของนายมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก เจ้าของบริษัทเฟซบุ๊ก
อย่างไรก็ตามคงต้องติดตามกันต่อไปว่าบทสรุปของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร
ขอบคุณข้อมลจาก Ch7HD News